อนาคตของสมาร์ทฟาร์มมิ่ง
Technology & Innovation

อนาคตของสมาร์ทฟาร์มมิ่ง

  • 03 Sep 2020
  • 9533

เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนทำให้มีความเสี่ยงที่จะประสบกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ระดับน้ำทะเลอาจจะท่วมสูงขึ้นจาการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก และภาวะโลกร้อน หรืออาจส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งโดยฉับพลัน ซึ่งน้ำเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับภาคเกษตรกรรม และส่งผลโดยตรงกับเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร

“สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Smart Farmer) หรือ “เกษตรยุคใหม่” ถือเป็นกำลังสำคัญในการที่ขับเคลื่อนภาคการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาที่เคยประสบในภาคเกษตร ตลอดจนเพิ่มจำนวนผลผลิตที่มีคุณภาพ

โดยหอการค้าจังหวัดภาคอีสานระบุว่า อีสานเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตรมากกว่าครึ่งหนึ่งของไทยมีอัตราการเติบโตด้านการค้าการลงทุนสูงขึ้นในช่วงปี  2550-2554 สูงถึง 40% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ 23% รวมทั้งยังมีพื้นที่ชายแดนที่สนับสนุนการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านที่สร้างเศรษฐกิจมหาศาลให้กับไทย มีอัตราการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงศักยภาพจากการเชื่อมต่อกับจีนและเวียดนามในอนาคต ผู้วางแผนยุทธศาสตร์จึงวิเคราะห์ว่าอีสานมีแนวโน้มและศักยภาพมากพอในการเป็นภูมิภาคในอนาคต

ในขณะเดียวกันการคาดการณ์ว่า สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง จะมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ภาคเกษตร สามารถผลิตอาหารป้อนประชากรโลกได้พอเพียงกับความต้องการของปริมาณชาวโลกที่เพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละปี โดยมีตัวเลขประมาณการณ์ว่า ในช่วงปี 2010-2050 ผลผลิตทางการเกษตรจะเพิ่มสูงขึ้นในอัตรา 69% เพื่อให้พอเพียงกับการเลี้ยงดูจำนวนประชากรไม่ต่ำกว่า 9 พันล้านคนทั่วโลก ขณะที่การนำเทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agri-Tech) เข้ามาใช้ในการทำเกษตรอัจฉริยะ จะช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้ 10-30% ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 –2559) ได้บรรจุเอาสมาร์ทฟาร์มเมอร์เป็นส่วนหนึ่งของ แผนพัฒนาการเกษตร

“สมาร์ทฟาร์ม” จึงถือเป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ ที่จะทำให้การทำไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อย  ระดับไร่  และระดับมหภาค  มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ด้วยการทำการเกษตรที่มีความแม่นยำสูง เน้นการพัฒนาเกษตรกรรม 4 ด้านคือ การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต การเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้า การลดความเสี่ยงในภาคเกษตร ซึ่งเกิดจากการระบาดของศัตรูพืชและจากภัยธรรมชาติ และการจัดการและส่งผ่านความรู้ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศจากการวิจัยไปประยุกต์สู่การพัฒนาในทางปฏิบัติ และให้ความสำคัญต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร ซึ่งเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการทำสมาร์ทฟาร์ม อย่างที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป บางประเทศ รวมถึงญี่ปุน และอินเดียเป็นต้น

โดยเฉพาะในยุคที่ภาคการเกษตรกำลังประสบกับปัญหานานับประการทั้งภัยพิบัติ ที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยน อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ ปัญหาด้านราคาที่ผันผวน และมองไกลไปถึงปี ค.ศ.2050 ที่คาดการว่าประชากรโลกจะมีถึง 9,000 ล้านคน พื้นที่การเกษตรจะน้อยลง ความต้องการอาหารที่จะสูงขึ้น “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” จะตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ได้

ปัญหาสากลที่คุกคามและเป็นความท้าทายสำหรับเกษตรกร ก็คือ ความไม่แน่นอนของสภาพดินฟ้าอากาศ คุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูก แมลงศัตรูพืช และความผันผวนด้านราคาผลผลิตปัญหาเหล่านี้สามารถ ‘จัดการ’ ได้ด้วยเทคโนโลยี ที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลบิ๊กดาต้า และการมีเครื่องมือรวบรวมฐานข้อมูลมหาศาลเหล่านั้น มาวิเคราะห์ คาดการณ์ และช่วยวางแผนการผลิต(ทางการเกษตร) เปิดมิติใหม่สู่การเกษตรแม่นยำข้อมูลที่จัดทำโดย Reports And Data ประเมินไว้ว่า ตลาดเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) จะเติบโตในอัตรา 12.7% ต่อปี จาก 5.3 พันล้านดอลลารสหรัฐเมื่อปีผ่านมา เป็น 14.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2026 โดยปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญมาจากการนำ ‘ไอโอที’ เข้ามาใช้งานในภาคเกษตรมากขึ้น เกษตรกรใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ที่มีความสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น เซ็นเซอร์, ระบบนำทางด้วยดาวเทียมและระบุพิกัด (GPS & GNSS systems) และ automated steering systems เป็นต้น เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างดินในพื้นที่เพาะปลูก ตรวจสอบอุณหภูมิ การจัดทำแผนที่สนาม การบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น

ข้อมูลจากเวทีเสวนา การขับเคลื่อนสู่การเป็นจังหวัดอัจฉริยะมุมมองจากชนบทสู่เมือง(Smart province) ในงาน KHONKAEN SMART CITY & MICE CITY EXPO 2019 ยังสรุปเป็นประเด็นได้ ว่า คำว่าสมาร์ท นั้นอาจไม่ได้หมายถึงการใช้ไอที ใช้เทคโนโลยี หรือใช้ดิจิทัล เป็นตัวนำ แต่ความหมายคือ การที่ผู้คนลุกขึ้นมา คิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา หาทางเลือก หาทางออกด้วยตัวเอง โดยมีส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาคเป็นผู้สนับสนุน และมีเทคโนโลยี ดิจิทัลเป็นตัวเสริม ซึ่งสมาร์ทที่แท้จริงต้องสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ และเสริมทักษะชุมชนด้วยกลไกหรือเครื่องมือทางเทคโนโลยี ซึ่งไม่มีเงื่อนไขด้านอายุ ระยะทางสำหรับกลุ่มเกษตรกรอีกต่อไปจึงจะยิ่งย้ำชัดว่าการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงาน ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์การเกษตรได้อย่างแท้จริง

ที่มา :
บทความ “จุลทรรศน์ภาคเกษตรไทยผ่านข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและสำมะโนเกษตร” จาก pier.or.th
บทความ “ขอนแก่น SMART CITY มีส่วนร่วมทั้งเมืองและชนบท “ดิจิทัล” เติมเต็มศักยภาพคน” จาก esanbiz.com
บทความ “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์”กุญแจสำคัญ “พลิกโฉมภาคเกษตรไทย” แล้ว สมาร์ท ฟาร์มเมอร คืออะไร?” จาก kasettumkin.com
บทความ “จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร” เข้าถึงจาก komchadluek.net