Photogenic Technology : ตาหุ่นยนต์อัจฉริยะเพื่อรักษาความปลอดภัย
Technology & Innovation

Photogenic Technology : ตาหุ่นยนต์อัจฉริยะเพื่อรักษาความปลอดภัย

  • 07 Jan 2010
  • 5721

โดย ดร. ชิต เหล่าวัฒนา

โดย ดร. ชิต เหล่าวัฒนา
วิทยาการด้าน “ตาหุ่นยนต์” ส่วนใหญ่ยังอยู่ในห้องปฏิบัติการ ไม่มีผลกระทบมากนักในชีวิตประจำวันของมนุษย์
แต่เทคโนโลยีพื้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบตาหุ่นยนต์อย่าง “กล้องวงจรปิด CCTV” กลับเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ
ในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ อย่างเช่น กรุงเทพมหานคร ที่ปัจจุบันมีการติดตั้งกล้อง CCTV
จำนวนหลายพันเครื่องเพื่อเฝ้าระวังเหตุร้าย
ที่ผมบอกว่ากล้อง CCTV มีหน้าที่ในการ “เฝ้าระวัง” นั้น
ก็เพราะเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บังคับการสามารถสอดส่องดูแลสถานที่เสี่ยงภัยผ่าน “ตาวิเศษ” เหล่านี้ได้
โดยสามารถโยกย้ายไปดูกล้องตัวไหนก็ได้ในตำแหน่งที่ต้องการ
และใช้ระบบอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีมัลติมีเดียไร้สายความเร็วสูงเชื่อมต่อการทำงานเข้ากับคอมพิวเตอร์
พกพาส่วนตัว (PDA) หรือระบบคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ได้หลายชนิด คุณภาพของกล้อง CCTV
ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง สามารถซูมภาพระยะไกลได้กว่า 30 เมตร
เห็นได้แม้กระทั่งหมายเลขทะเบียนรถยนต์ที่ต้องสงสัย ดังนั้นหากมีระบบเฝ้าระวังนี้ติดตั้งอยู่โดยทั่วไปแล้ว
คน(คิด)ร้ายก็จะต้องระวังตัวมากขึ้น เพราะการกระทำลับๆ ล่อๆ อาจตกอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บังคับการ
และพวกเขาก็มักจะถูกจับกุมก่อนลงมือเสมอ
นอกจากนั้น ระบบดังกล่าวยังมีประโยชน์หลังจากเหตุร้ายได้เกิดขึ้นแล้วด้วย เพราะหากมีการบันทึกภาพเก็บไว้
เจ้าหน้าที่ก็สามารถนำภาพเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาสาเหตุหรือผู้กระทำความผิดได้
โดยในกรณีนี้อาจต้องเพิ่มเติมเทคนิคการตรวจจับความเคลื่อนไหวอัตโนมัติ (Motion Detector)
การตรวจสอบค่าบิทของแต่ละอิมเมจว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ฯลฯ (หากหน่วยงานใดของไทยสนใจจะใช้
อย่าเพิ่งรีบเสียเงินซื้อจากต่างประเทศนะครับ โปรดติดต่อนักวิจัย อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
หรือที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผมมั่นใจว่าคนไทยออกแบบและทำใช้เองได้ดีครับ)
เทคโนโลยีของกล้อง CCTV ในปัจจุบันนั้นได้ผนวกเอาความสามารถทางปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :
AI) เข้าไปด้วยแล้ว จุดประสงค์แรกเริ่มคือเพื่อป้องกันการวางระเบิดจากกระเป๋าพกพา
(สนามบินชั้นนำทั่วโลกจะมีระบบนี้ติดตั้งใช้งานอยู่) โดยฟังก์ชั่นสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการจดจำข้อมูลภาพ
(Cognitive Module) ที่สามารถบอกได้ว่า “ผู้ใดถือสัมภาระมาแล้วจงใจทิ้งไว้ในระยะที่เกินกำหนด”
ซึ่งระบบก็จะทำการเตือนทันที พร้อมทั้งระบุตำแหน่งของผู้ต้องสงสัย ณ เวลาต่างๆ
ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงสามารถติดตามผู้ต้องสงสัยได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
(หากระบบเชื่อมต่อถึงกันผ่านเครือข่ายดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) ยิ่งไปกว่านั้น
ปัจจุบันทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน (Carnegie Mellon) สหรัฐอเมริกา
ยังได้พัฒนาระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) ที่สามารถระบุชื่อแซ่ของบุคคลได้ในทันที
(ในกรณีที่มีการปลอมตัว ระบบจะบอกได้แม้กระทั่งความเป็นไปได้ว่าบุคคลคนนั้นมีหน้าตาละม้ายคล้ายใครบ้าง)
ในยุคต้นของการพัฒนาระบบจดจำใบหน้านี้ ศาสตราจารย์ ทาเคโอะ คานาเดะ
อาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้ด้านหุ่นยนต์ให้แก่ผมท่านหนึ่ง
ได้ริเริ่มพัฒนาโปรแกรมเพื่อที่จะระบุและจดจำใบหน้าของผู้คน
งานของท่านอาจารย์คาเนเดะได้ขยายผลต่อมาในสาขาของ Biometrics
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุตัวตนผ่านลักษณะเฉพาะของมนุษย์ เช่น ใบหน้า ตา นิ้วมือ ลายมือ และเสียง
เทคโนโลยีเหล่านี้หลายคนคงจำได้จากภาพยนตร์อย่าง James Bond 007 หรือ Minority Report
แต่คุณอาจยังไม่รู้ว่าบัดนี้มันได้เกิดขึ้นเป็นจริงแล้วผ่านงานวิจัยและพัฒนาของอาจารย์ มาริโอส์ ซาฟวิเดส
(Research Professor Marios Savvides) ระบบกล้อง Photogenic ที่อาจารย์ มาริโอส์ ซาฟวิเดส
พัฒนาขึ้นนี้สามารถตรวจสอบหาคนร้ายที่แฝงตัวมาในชุมชนได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าผู้ต้องสงสัยเหล่านั้นจะก้มหัว
สวมหมวก หรือใส่แว่นตาก็ตาม นอกจากนั้น กล้องยังมีชุด parameter ที่สามารถระบุเพศของเป้าหมาย
พร้อมทั้งสามารถ match หน้าตาของเป้าหมายเข้ากับฐานข้อมูลของ FBI ได้ในทันทีด้วย
ที่สหรัฐอเมริกา อาจารย์ มาริโอส์ ซาฟวิเดส ได้รับทุนจัดตั้งห้องวิจัย Cylab Biometrics ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้
เมลลอน จาก U.S. Federal Agency เป็นจำนวนถึง 3 ล้านเหรียณสหรัฐ และอีก 1.5
ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับงานวิจัยด้าน Photogenic โดยเฉพาะ
ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น / ข้อเสนอแนะมาที่ผู้เขียนได้ที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

cctv1

วิทยาการด้าน “ตาหุ่นยนต์” ส่วนใหญ่ยังอยู่ในห้องปฏิบัติการ ไม่มีผลกระทบมากนักในชีวิตประจำวันของมนุษย์ แต่เทคโนโลยีพื้นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบตาหุ่นยนต์อย่าง “กล้องวงจรปิด CCTV” กลับเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ อย่างเช่น กรุงเทพมหานคร ที่ปัจจุบันมีการติดตั้งกล้อง CCTV จำนวนหลายพันเครื่องเพื่อเฝ้าระวังเหตุร้าย

ที่ผมบอกว่ากล้อง CCTV มีหน้าที่ในการ “เฝ้าระวัง” นั้น ก็เพราะเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บังคับการสามารถสอดส่องดูแลสถานที่เสี่ยงภัยผ่าน “ตาวิเศษ” เหล่านี้ได้ โดยสามารถโยกย้ายไปดูกล้องตัวไหนก็ได้ในตำแหน่งที่ต้องการและใช้ระบบอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีมัลติมีเดียไร้สายความเร็วสูงเชื่อมต่อการทำงานเข้ากับคอมพิวเตอร์พกพาส่วนตัว (PDA) หรือระบบคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ได้หลายชนิด คุณภาพของกล้อง CCTV ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง สามารถซูมภาพระยะไกลได้กว่า 30 เมตร เห็นได้แม้กระทั่งหมายเลขทะเบียนรถยนต์ที่ต้องสงสัย ดังนั้นหากมีระบบเฝ้าระวังนี้ติดตั้งอยู่โดยทั่วไปแล้ว คน(คิด)ร้ายก็จะต้องระวังตัวมากขึ้น เพราะการกระทำลับๆ ล่อๆ อาจตกอยู่ในสายตาของเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์บังคับการ และพวกเขาก็มักจะถูกจับกุมก่อนลงมือเสมอ

นอกจากนั้น ระบบดังกล่าวยังมีประโยชน์หลังจากเหตุร้ายได้เกิดขึ้นแล้วด้วย เพราะหากมีการบันทึกภาพเก็บไว้ เจ้าหน้าที่ก็สามารถนำภาพเหล่านั้นมาวิเคราะห์หาสาเหตุหรือผู้กระทำความผิดได้ โดยในกรณีนี้อาจต้องเพิ่มเติมเทคนิคการตรวจจับความเคลื่อนไหวอัตโนมัติ (Motion Detector) การตรวจสอบค่าบิทของแต่ละอิมเมจว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ฯลฯ (หากหน่วยงานใดของไทยสนใจจะใช้อย่าเพิ่งรีบเสียเงินซื้อจากต่างประเทศนะครับ โปรดติดต่อนักวิจัย อาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผมมั่นใจว่าคนไทยออกแบบและทำใช้เองได้ดีครับ)

cctv2

เทคโนโลยีของกล้อง CCTV ในปัจจุบันนั้นได้ผนวกเอาความสามารถทางปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เข้าไปด้วยแล้ว จุดประสงค์แรกเริ่มคือเพื่อป้องกันการวางระเบิดจากกระเป๋าพกพา (สนามบินชั้นนำทั่วโลกจะมีระบบนี้ติดตั้งใช้งานอยู่) โดยฟังก์ชั่นสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการจดจำข้อมูลภาพ (Cognitive Module) ที่สามารถบอกได้ว่า “ผู้ใดถือสัมภาระมาแล้วจงใจทิ้งไว้ในระยะที่เกินกำหนด” ซึ่งระบบก็จะทำการเตือนทันที พร้อมทั้งระบุตำแหน่งของผู้ต้องสงสัย ณ เวลาต่างๆ ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงสามารถติดตามผู้ต้องสงสัยได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว (หากระบบเชื่อมต่อถึงกันผ่านเครือข่ายดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน (Carnegie Mellon) สหรัฐอเมริกา ยังได้พัฒนาระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) ที่สามารถระบุชื่อแซ่ของบุคคลได้ในทันที (ในกรณีที่มีการปลอมตัว ระบบจะบอกได้แม้กระทั่งความเป็นไปได้ว่าบุคคลคนนั้นมีหน้าตาละม้ายคล้ายใครบ้าง)

ในยุคต้นของการพัฒนาระบบจดจำใบหน้านี้ ศาสตราจารย์ ทาเคโอะ คานาเดะ อาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้ด้านหุ่นยนต์ให้แก่ผมท่านหนึ่ง ได้ริเริ่มพัฒนาโปรแกรมเพื่อที่จะระบุและจดจำใบหน้าของผู้คน งานของท่านอาจารย์คาเนเดะได้ขยายผลต่อมาในสาขาของ Biometrics ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุตัวตนผ่านลักษณะเฉพาะของมนุษย์ เช่น ใบหน้า ตา นิ้วมือ ลายมือ และเสียงเทคโนโลยีเหล่านี้หลายคนคงจำได้จากภาพยนตร์อย่าง James Bond 007 หรือ Minority Report แต่คุณอาจยังไม่รู้ว่าบัดนี้มันได้เกิดขึ้นเป็นจริงแล้วผ่านงานวิจัยและพัฒนาของอาจารย์ มาริโอส์ ซาฟวิเดส (Research Professor Marios Savvides) ระบบกล้อง Photogenic ที่อาจารย์ มาริโอส์ ซาฟวิเดส พัฒนาขึ้นนี้สามารถตรวจสอบหาคนร้ายที่แฝงตัวมาในชุมชนได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าผู้ต้องสงสัยเหล่านั้นจะก้มหัวสวมหมวก หรือใส่แว่นตาก็ตาม นอกจากนั้น กล้องยังมีชุด parameter ที่สามารถระบุเพศของเป้าหมาย พร้อมทั้งสามารถ match หน้าตาของเป้าหมายเข้ากับฐานข้อมูลของ FBI ได้ในทันทีด้วย

ที่สหรัฐอเมริกา อาจารย์ มาริโอส์ ซาฟวิเดส ได้รับทุนจัดตั้งห้องวิจัย Cylab Biometrics ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน จาก U.S. Federal Agency เป็นจำนวนถึง 3 ล้านเหรียณสหรัฐ และอีก 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับงานวิจัยด้าน Photogenic โดยเฉพาะ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น / ข้อเสนอแนะมาที่ผู้เขียนได้ที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th