วัสดุเด่นประจำเดือนกรกฎาคม 2559 : แผ่นตกแต่งจากเปลือกแมคาเดเมีย (Green macadamia nut shell board)
Materials & Application

วัสดุเด่นประจำเดือนกรกฎาคม 2559 : แผ่นตกแต่งจากเปลือกแมคาเดเมีย (Green macadamia nut shell board)

  • 09 Oct 2016
  • 11443

แผ่นตกแต่งจากเปลือกแมคาเดเมีย (Green macadamia nut shell board)

Green-macadamia-nut-shell-board2.jpg

Green-macadamia-nut-shell-board1.jpg

Green-macadamia-nut-shell-board3.jpg

คุณสมบัติ   
- ทำจากวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการเกษตร ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
- ลดเสียงสะท้อน กันน้ำ และกันไฟลามได้
- ไม่มีสารระเหย VOC จึงใช้ทดแทนแผ่นบอร์ดที่ทำจากไม้ได้
- ติดตั้งบนผนังหรือพื้นผิวต่างๆ ได้ง่าย
- สามารถสั่งผลิตขนาดและรูปร่างพิเศษได้ตามต้องการ

การนำไปใช้   
เหมาะใช้ตกแต่งพื้นผิวแนวดิ่งทั้งภายในและภายนอกอาคาร

ต้นกำเนิด   
จากการเพาะปลูกแมคาเดเมียและธุรกิจการกะเทาะถั่วแมคาเดเมียที่เติบโต ทำให้มีเปลือกถั่วแมคาเดเมียเหลือทิ้งมากจนล้นของโป่งแยงการเกษตร นำโดยคุณประพัทธ์ พิมประโพธ เจ้าของกิจการ และโดยทั่วไปเปลือกถั่วมักถูกนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง หรือถ่านกัมมันต์ (activated carbon) หรือใช้เป็นวัสดุคลุมดินซึ่งต่อมาจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ในสวน คุณประพัทธ์จึงมีแนวคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเปลือกถั่วแมคาเดเมีย จึงชักชวน อ.ณัฐพร โทณานนท์ ซึ่งเป็นรุ่นน้องและอาจารย์ประจำที่ภาควิชาวิศวกรรมเคมี จุฬาฯ ให้เดินทางไปดูกองเปลือกถั่วแมคาเดเมียจำนวนมากที่เก็บไว้ที่โป่งแยงการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ อ.ณัฐพร เห็นถึงลักษณะของเปลือกถั่วแมคาเดเมียซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความสวยงามของไม้เนื้อแข็งและความแข็งแรงของรูปทรงครึ่งทรงกลมไว้ได้อย่างลงตัว จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะทำเป็นแผ่นตกแต่งจากเปลือกแมคาเดเมีย โดยใช้น้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (cashew nut shell liquid; CNSL, natural phenolic resin) ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ทำหน้าที่เชื่อมเปลือกถั่วแมคาเดเมียเข้าด้วยกัน

ขนาด       
มีความหนา 1-2 นิ้ว และผลิตได้ใหญ่ตามขนาดของแม่พิมพ์

ผู้ผลิต       
Pongyang Agriculture
อีเมล jude.tonanon@gmail.com

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุนี้    
แผ่นตกแต่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากการเชื่อมเศษเปลือกแมคาเดเมียไว้ด้วยกัน มีความงามตามธรรมชาติ สามารถนำแผ่นตกแต่งนี้ไปติดผนัง ปูหน้าเคาน์เตอร์ ปิดผิวหน้าโต๊ะหรืองานศิลปะที่ค่อนข้างมีลักษณะเด่น พิเศษแตกต่างจากงานศิลปะอื่นๆ