
Materials & Application
โอกาสทองของสตาร์ทอัพในการวิจัยและพัฒนาวัสดุใหม่

เราอยู่ในโลกของวัสดุ สิ่งที่เราสวมใส่ เดิน นอน นั่ง ขับขี่ หรือสร้างขึ้น ส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ แม้อุตสาหกรรมวัสดุจะมีอยู่อย่างแพร่หลาย แต่ก็ค่อนข้างหยุดนิ่ง ไม่มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น กลุ่มสตาร์ทอัพ ที่ต้องการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ มาทดแทน จึงกลายเป็นความหวังสำคัญของอุตสาหกรรมวัสดุ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานอวกาศ ยานยนต์ สารเคมี วัสดุ คอมพิวเตอร์ และระบบโครงสร้างเครือข่าย
โดยปกติวงจรการผลิตวัสดุใหม่อยู่ที่ 25 - 30 ปี ตั้งแต่ระยะดึงดูดความสนใจของสตาร์ทอัพให้เข้ามาในวงจรนี้ จนถึงช่วงเวลาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเข้มข้น การขยายธุรกิจ การควบรวมของบริษัทต่างๆ เพื่อลดต้นทุนและคู่แข่ง และสุดท้ายก็ถึงจุดที่ตลาดเติบโตจนถึงขีดจำกัดของศักยภาพระบบโดยรวม ซึ่งสังเกตได้จากการตัดงบด้านวิจัยและพัฒนา และมีการส่งผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดในจำนวนที่น้อยลง
จำนวนของบริษัทที่ตั้งงบเพื่อการวิจัยและพัฒนาอย่างเดียวนั้นลดลงอย่างมาก ตั้งแต่งานวิจัยของ IBM และ Bell Labs ประสบความสำเร็จ บริษัทใหญ่ๆ ในอเมริกาส่วนใหญ่ในช่วงปี 1980 - 2000 ต่างพากันตัดงบประมาณด้านการวิจัยพื้นฐานลง เริ่มจากอุตสาหกรรมผลิตวัสดุ ไม่ว่าจะเป็น Dow Chemical หรือ DuPont ตามด้วยอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์ ทั้ง HP, IBM และ Compaq รวมทั้งบริษัทด้านการสื่อสาร Lucent, Alcatel และ Cisco ทำให้การพัฒนานวัตกรรมพื้นฐานเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตลาดมีการรวมตัวกัน และไม่มีผู้นำตลาดที่ชัดเจน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของเหล่าสตาร์ทอัพที่จะนำเสนอนวัตกรรมให้แก่อุตสาหกรรมวัสดุ มีปัจจัยหลายอย่างที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้เกิดการนำเสนอวัสดุใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวในอุตสาหกรรม ความต้องการของตลาด วงจรชีวิตของสินค้าที่สมเหตุสมผล และการมีตลาดรองรับขนาดใหญ่ ซึ่งขณะนี้นับว่ามีแพลตฟอร์มที่เป็นเวทีให้เหล่าสตาร์ทอัพได้ลงมือทำให้เกิดนวัตกรรมวัสดุ นั่นคือ Innovation Network for Advanced Materials (INAM) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อยอดความคิดที่มีจนถึงการผลิตนวัตกรรมที่ทำการตลาดได้
โดยตัวอย่างนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงจากแพลตฟอร์มนี้ก็ได้แก่ การใช้งานวัสดุชั้นสูงและเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ ลำแสง การสร้างและควบคุมแสง รวมถึงเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ลดต้นทุนการผลิต ความโปร่งใส สารเคลือบนำไฟฟ้าสำหรับฟิล์มบางของโซลาร์เซลล์ และการพัฒนาต่อยอด Organic Light Emitting Diodes (OLEDs) สำหรับยานยนต์ รวมทั้งยังมีการเวิร์คช็อปเพื่อพัฒนาแนวคิดด้านนวัตกรรมร่วมกับสตาร์ทอัพจากประเทศต่างๆ ซึ่งจัดโดยนายกเทศมนตรีของกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี
ตัวอย่าง Material Tech Startups ที่ได้รางวัลเทคโนโลยี ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูงสุด (Most Impactful Technology) จากเวที Large-area, Organic & Printed Electronics Convention (LOPEC) ที่เมืองมิวนิก มาจากกลุ่มสตาร์ทอัพอย่าง Eurekite ที่ได้นำเสนอวัสดุนวัตกรรมที่เรียกว่า Flexiramics® ซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิสูงได้ ใช้ทำเสาอากาศหรืออุปกรณ์เชื่อมต่อในรถยนต์ ยานอวกาศ หรือใช้ในอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานที่อุณหภูมิสูง โดย เจอราร์ด คาดาฟอลช์ (Gerard Cadafalch) ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งของ Eurekite บอกว่า “การมีหุ้นส่วนทางธุรกิจที่อนุญาตให้เราสามารถพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและขยายขอบเขตของเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญมาก” ขณะนี้ Eurekite กำลังต่อรองโครงการหนึ่งกับลูกค้าจากหลายประเทศ เพื่อยกระดับไปสู่การลงทุนเพื่อขยายขนาดของเทคโนโลยีในอนาคต
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ที่มา:
บทความ “The Innovative Material Flexiramics® from Eurekite Awarded ‘Most Impactful Technology’ at the Start-Up Forum during LOPEC 2016” จาก kennispark.nl
inam.berlin/startups
pioneers.io
โดยปกติวงจรการผลิตวัสดุใหม่อยู่ที่ 25 - 30 ปี ตั้งแต่ระยะดึงดูดความสนใจของสตาร์ทอัพให้เข้ามาในวงจรนี้ จนถึงช่วงเวลาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเข้มข้น การขยายธุรกิจ การควบรวมของบริษัทต่างๆ เพื่อลดต้นทุนและคู่แข่ง และสุดท้ายก็ถึงจุดที่ตลาดเติบโตจนถึงขีดจำกัดของศักยภาพระบบโดยรวม ซึ่งสังเกตได้จากการตัดงบด้านวิจัยและพัฒนา และมีการส่งผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดในจำนวนที่น้อยลง
จำนวนของบริษัทที่ตั้งงบเพื่อการวิจัยและพัฒนาอย่างเดียวนั้นลดลงอย่างมาก ตั้งแต่งานวิจัยของ IBM และ Bell Labs ประสบความสำเร็จ บริษัทใหญ่ๆ ในอเมริกาส่วนใหญ่ในช่วงปี 1980 - 2000 ต่างพากันตัดงบประมาณด้านการวิจัยพื้นฐานลง เริ่มจากอุตสาหกรรมผลิตวัสดุ ไม่ว่าจะเป็น Dow Chemical หรือ DuPont ตามด้วยอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์ ทั้ง HP, IBM และ Compaq รวมทั้งบริษัทด้านการสื่อสาร Lucent, Alcatel และ Cisco ทำให้การพัฒนานวัตกรรมพื้นฐานเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตลาดมีการรวมตัวกัน และไม่มีผู้นำตลาดที่ชัดเจน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีของเหล่าสตาร์ทอัพที่จะนำเสนอนวัตกรรมให้แก่อุตสาหกรรมวัสดุ มีปัจจัยหลายอย่างที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้เกิดการนำเสนอวัสดุใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวในอุตสาหกรรม ความต้องการของตลาด วงจรชีวิตของสินค้าที่สมเหตุสมผล และการมีตลาดรองรับขนาดใหญ่ ซึ่งขณะนี้นับว่ามีแพลตฟอร์มที่เป็นเวทีให้เหล่าสตาร์ทอัพได้ลงมือทำให้เกิดนวัตกรรมวัสดุ นั่นคือ Innovation Network for Advanced Materials (INAM) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อยอดความคิดที่มีจนถึงการผลิตนวัตกรรมที่ทำการตลาดได้
โดยตัวอย่างนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงจากแพลตฟอร์มนี้ก็ได้แก่ การใช้งานวัสดุชั้นสูงและเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ ลำแสง การสร้างและควบคุมแสง รวมถึงเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ลดต้นทุนการผลิต ความโปร่งใส สารเคลือบนำไฟฟ้าสำหรับฟิล์มบางของโซลาร์เซลล์ และการพัฒนาต่อยอด Organic Light Emitting Diodes (OLEDs) สำหรับยานยนต์ รวมทั้งยังมีการเวิร์คช็อปเพื่อพัฒนาแนวคิดด้านนวัตกรรมร่วมกับสตาร์ทอัพจากประเทศต่างๆ ซึ่งจัดโดยนายกเทศมนตรีของกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี
ตัวอย่าง Material Tech Startups ที่ได้รางวัลเทคโนโลยี ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูงสุด (Most Impactful Technology) จากเวที Large-area, Organic & Printed Electronics Convention (LOPEC) ที่เมืองมิวนิก มาจากกลุ่มสตาร์ทอัพอย่าง Eurekite ที่ได้นำเสนอวัสดุนวัตกรรมที่เรียกว่า Flexiramics® ซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้งานในที่ที่มีอุณหภูมิสูงได้ ใช้ทำเสาอากาศหรืออุปกรณ์เชื่อมต่อในรถยนต์ ยานอวกาศ หรือใช้ในอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานที่อุณหภูมิสูง โดย เจอราร์ด คาดาฟอลช์ (Gerard Cadafalch) ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งของ Eurekite บอกว่า “การมีหุ้นส่วนทางธุรกิจที่อนุญาตให้เราสามารถพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและขยายขอบเขตของเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญมาก” ขณะนี้ Eurekite กำลังต่อรองโครงการหนึ่งกับลูกค้าจากหลายประเทศ เพื่อยกระดับไปสู่การลงทุนเพื่อขยายขนาดของเทคโนโลยีในอนาคต
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ที่มา:
บทความ “The Innovative Material Flexiramics® from Eurekite Awarded ‘Most Impactful Technology’ at the Start-Up Forum during LOPEC 2016” จาก kennispark.nl
inam.berlin/startups
pioneers.io