ขวดน้ำกินได้ เบิกเส้นทางแห่งการดื่มน้ำในอนาคต
Materials & Application

ขวดน้ำกินได้ เบิกเส้นทางแห่งการดื่มน้ำในอนาคต

  • 24 Dec 2019
  • 40524

 

เจลาตินทรงกลมที่เราเรียกว่า Ooho นี้จะบรรจุน้ำปริมาณที่พอเหมาะไว้ข้างใน หากคุณจะกินหรือนำไปทิ้งในถังเพื่อทำปุ๋ยหมักก็ได้เช่นกัน

Ooho สามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้ หรือถ้าคุณอยากกลืนเข้าไปก็ได้เช่นกัน 

หลังจากใช้เวลาสองปีในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ผู้ออกแบบก็พร้อมที่จะนำออกสู่ตลาดแล้ว

เยื่อที่หุ้มน้ำนี้ ทำจากส่วนผสมที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร จึงสามารถกินได้แทนที่จะโยนลงถังขยะ


หากคุณได้มีโอกาสร่วมงานวิ่งมาราธอนที่กรุงลอนดอนในอนาคตอันใกล้นี้ และวิ่งผ่านจุดจ่ายน้ำ สิ่งที่คุณจะได้รับ อาจเป็นก้อนน้ำทรงกลมขนาดเล็กเหมือนฟองสบู่ แทนที่จะเป็นขวดน้ำพลาสติก บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยเจลาตินนี้มีชื่อว่า Ooho สามารถย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้ หรือถ้าอยากกลืนเข้าไปก็ทำได้เช่นกัน หลังจากนักออกแบบใช้เวลาในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ถึง 2 ปี ผลิตภัณฑ์นี้ก็พร้อมออกสู่ตลาดแล้ว

นักศึกษาด้านการออกแบบในลอนดอน 3 คน เริ่มสร้างต้นแบบของขวดน้ำกินได้ในปี 2014 เพื่อทดแทนขวดน้ำพลาสติก ไอเดียนี้เป็นที่ฮือฮาบนอินเทอร์เน็ต แม้จะโดนดูถูกบ้างในวิดีโอขำขันที่แสดงให้เห็นว่าต้นแบบรุ่นแรกๆ นั้น ทำให้ผู้ดื่มเปียกน้ำไปด้วย

จากปัญหาที่ขยะขวดน้ำที่มีปริมาณมากขึ้นในบ่อขยะที่สหราชอาณาจักร จึงจำเป็นต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ เพราะมีขวดน้ำประมาณ 16 ล้านขวดถูกทิ้งในแต่ละวัน และอีก 19 ล้านขวดได้รับการรีไซเคิล ถึงกระนั้นก็ยังทิ้งรอยเท้าทางนิเวศน์ (Environment Footprint) ไว้เพราะขวดน้ำเป็นสินค้าที่ทำจากน้ำมัน แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา อัตราการนำไปรีไซเคิลนั้นก็ยังน้อยอยู่ บริษัทผู้ผลิตหวังว่าจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นได้ด้วยการนำไปทดแทนขวดน้ำขนาดเล็กพร้อมดื่มที่มีการปริมาณการจำหน่ายและการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขวดน้ำขนาดเล็กที่มีปริมาตรไม่ถึงครึ่งลิตรมีมากถึงหนึ่งในสามของขวดน้ำทั้งหมดที่ขายในปัจจุบัน ในปี 2016 Evian ได้เริ่มจำหน่ายขวดน้ำขนาด 200 มิลลิลิตร ซึ่งเมื่อเปิดฝาแล้ว ไม่สามารถปิดฝาได้

บรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่นี้ใช้เทคนิคการทำอาหารที่เรียกว่า Spherification ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ทำไข่ปลาคาเวียร์และไข่มุกที่ใส่ในชานม เมื่อเราจุ่มก้อนน้ำแข็งลงไปในแคลเซียมคลอไรด์และสารสกัดสาหร่ายสีน้ำตาล ผลที่ได้คือเยื่อทรงกลมที่ห่อหุ้มน้ำแข็ง ในขณะที่น้ำแข็งจะละลายเป็นน้ำเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง

บรรจุภัณฑ์นี้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Spherification แบบเดียวกับการทำไข่ปลาคาเวียร์ และไข่มุกที่ใส่ในชา

เนื่องจากเยื่อที่ว่านี้ทำจากส่วนผสมที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร จึงสามารถกินเข้าไปได้แทนที่จะต้องโยนลงถังขยะ บรรจุภัณฑ์นี้มีลักษณะคล้ายเยลลี่ ไม่มีรสชาติ แต่สามารถปรุงแต่งรสให้น่ากินยิ่งขึ้นได้

เราไม่จำเป็นต้องกินบรรจุภัณฑ์ทุกครั้ง เพราะมันสามารถย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้เอง “ในครั้งแรกที่ได้ทดลอง ทุกคนอยากมีส่วนร่วมและอยากลองที่จะกินมัน” Pierre Paslier กล่าว เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Skipping Rocks Lab สตาร์ทอัพผู้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ “มันก็เหมือนเปลือกผลไม้นั่นแหละ ที่ปกติเราไม่กินเปลือกส้มหรือเปลือกกล้วย เราพยายามสร้างตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่เลียนแบบธรรมชาติ”

ชั้นนอกสุดของ Ooho ปอกออกได้เหมือนกับผลไม้ เปลือกบาง ๆ ด้านนอกถูกปอกออกไปโดยที่ยังคงความสะอาดของด้านในไว้ หลังจากนั้นสามารถนำไปย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้ (ถ้วยน้ำย่อยสลายได้ก็เป็นตัวเลือกอีกทางหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่มักจะต้องนำไปย่อยสลายในโรงงานอุตสาหกรรม ในขณะที่เราสามารถโยน Ooho ทิ้งลงไปในกองปุ๋ยหมักในบ้านได้เลย ซึ่งมันจะย่อยสลายภายในไม่กี่สัปดาห์) 

 บรรจุภัณฑ์มีลักษณะคล้ายเยลลี่ ไม่มีรสชาติใดๆ แต่สามารถปรุงแต่งรสให้น่ากินยิ่งขึ้นได้

บริษัทผู้ผลิตตั้งเป้าขายทั้งในงานกลางแจ้งและในร้านกาแฟ "สถานที่ที่เรามองเห็นศักยภาพของ Ooho คืองานเทศกาลกลางแจ้ง การแข่งมาราธอนตามสถานที่ต่างๆ ที่มีคนจำนวนมากต้องการบริโภคน้ำในช่วงเวลาสั้นๆ" Paslier กล่าว

ทั้งนี้ศักยภาพของ Ooho ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าผู้คนยอมรับไอเดียการดื่มน้ำจากก้อนกลมๆ ที่เหนียวและนุ่ม มีผิวสัมผัสเหมือนแมงกระพรุน ผู้ออกแบบกล่าวว่าในช่วงทดลองสินค้าผู้คนตอบสนองต่อความแปลกใหม่นี้ในทางที่ดี และในบางภูมิภาคของโลก เช่น ประเทศในแอฟริกาที่อยู่ตอนใต้ของสะฮารา ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับถุงน้ำพลาสติกลักษณะคล้ายๆ กัน แต่ถุงดังกล่าวก่อให้เกิดขยะจำนวนมาก

Ooho สามารถผลิตได้ในร้านกาแฟ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้การขนส่งระยะไกล “กระบวนการที่เรากำลังพัฒนาอยู่นี้ช่วยให้สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์นี้ได้ ณ จุดจำหน่ายให้กับผู้บริโภค” Paslier กล่าว “ลองคิดถึงเครื่องทำกาแฟในร้าน ที่เมื่อชงกาแฟเสร็จ ก็สามารถดื่มได้ทันที เรากำลังสร้างเครื่องผลิต Ooho ในขนาดใกล้เคียงกัน” สำหรับงานกลางแจ้ง บรรจุภัณฑ์นี้สามารถผลิตได้โดยใช้กระบวนการแบบเดียวกันกับที่ใช้บนรถอาหารเคลื่อนที่ (Food Truck) ซึ่งแต่ละก้อนใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที

เนื่องจาก Ooho ไม่มีฝาปิด น้ำที่บรรจุจึงมีปริมาตรน้อย “เมื่อคุณกัดจนเป็นรูแล้ว คุณต้องกินให้หมดในคราวเดียว” Paslier กล่าว “เราพบว่าปริมาณการจิบน้ำ 1-2 ครั้ง ก็เป็นปริมาณที่พอเหมาะ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่นำไปใช้ “ในงานวิ่งแข่งมาราธอน อาจจะอยู่ที่ประมาณ 50 มิลลิลิตรหรือประมาณ 2-3 จิบ ถ้าเป็นที่ร้านสตาร์บัคส์ ปริมาตรอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 150 มิลลิลิตร

ในแคมเปญระดมทุนครั้งใหม่นี้ นักออกแบบกำลังระดมเงินสำหรับอุปกรณ์การผลิตแบบสุดท้าย และเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นต่อไป

“เรากำลังมองหาของเสียจากธรรมชาติอื่นๆ ที่นำมาทำให้เกิดประโยชน์แทนที่จะทิ้งมัน” Paslier กล่าว

อ้างอิง: บทความ “This Edible Water Bottle Is How You’ll Drink In The Future” จากเว็บไซต์ https://www.fastcompany.com