จากแบรนด์ดิ้งเมืองสู่เครือข่ายเมือง (Network Cities) ตอนที่ 2
Technology & Innovation

จากแบรนด์ดิ้งเมืองสู่เครือข่ายเมือง (Network Cities) ตอนที่ 2

  • 24 Sep 2020
  • 14978

การลงทุนด้านเมืองให้มีประสิทธิภาพเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ซึ่งหลายประเทศต่างมีเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศมุ่งเป้ามากที่สุดคือการสร้างเมืองเพื่อรองรับต่อสมาร์ทซิตี้ โดยการวางระบบตั้งแต่ IP Core Network ระบบเครือข่ายที่จะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน และยังเป็นพื้นที่กลางที่หน่วยงานต่างๆ ยังจะสามารถมาแบ่งปันใช้ร่วมกันเพื่อสร้างโครงการใหม่ๆ หรือติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ วางระบบ Broadband Access Network ระบบโครงข่ายภายในเมืองเพื่อให้การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ อย่างเซ็นเซอร์สามารถเกิดขึ้นได้ในตำแหน่งที่ต้องการ Cloud & Data Center ด้วยข้อมูลปริมาณมหาศาลที่จะเกิดขึ้นและการประมวลผลรูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง วางระบบ Cloud และ Data Center ที่รองรับความต้องการใหม่ๆ ได้อย่างยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น สร้าง Business Integration Platform เพื่อให้การต่อยอดโครงการสมาร์ทซิตี้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบที่จะสนับสนุนการรวมศูนย์ข้อมูลและนำไปใช้งานต่อยอดได้อย่าง Data Hub หรือ API ก็จะมีความสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถสร้างคุณค่าใหม่ๆ เพิ่มเติมได้ รวมถึงคำนึงเรื่องความปลอดภัย แน่นอนว่าด้วยความที่สมาร์ทซิตี้นั้นก็คือระบบ IT ขนาดใหญ่ การดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้

การเติบโตของเทคโนโลยีเพื่อเมือง ยิ่งตอกย้ำการเติบโตของระบบ IoT คือ Internet of Thing ซึ่งปัจจุบัน Internet of Thing ได้พัฒนามาเป็นอุปกรณ์ในระบบแบบ M2M (machine-to-machine) ที่มาระบบหน่วยเก็บสำรองเป็นระบบ Cloud ซึ่งเพิ่มศักยภาพการให้บริการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นธุรกิจ Data Monetization เพื่อรองรับแนวโน้มโลกโดยยกระดับนวัตกรรมในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่รูปแบบข้อมูลและการสื่อสาร รูปแบบการควบคุมและตรวจสอบภาครัฐ อย่างหลายประเทศที่พัฒนาแล้วได้ก้าวข้ามเรื่องเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมให้เทคโนโลยีคือภูมิภาคหรือเขตการปกครองหนึ่งของประเทศ ที่ทำหน้าที่สร้างโอกาสทางธุรกิจเครือข่ายโทรคมนาคมข้ามพื้นที่ประเภท ทวีป และจะขยายไปถึงข้ามอวกาศ อย่างตลาดจีน ที่เร่งพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์และ AI (Artificial Intelligence) เป็นจำนวน 1 ล้านหน่วยภายใน 3 ปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับธุรกิจ Data Monetization และอุปกรณ์ Mobility ที่สามารถขยายฐานการบริการไปทั่วโลก การยอมรับระบบการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ที่ทุกคนสามารถเพิ่มศักยภาพในการสร้างสรรค์ ร่วมมือและติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคล โดยผลิตแพลทฟอร์มขึ้นเพื่อขยายขอบเขตไปทั่วโลกได้ โดย Wall Street Journal เผยสถิติธุรกิจสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือเรียกว่า Tech Unicorns ในทวีปเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น  27 เปอร์เซ็นต์ จาก 20 เปอร์เซ็นต์จาก 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ใช้ระบบ Sharing Economy ในโลกออนไลน์สู่ออฟไลน์อย่างเป็นระบบ เพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจให้เติบโตไวยิ่งขึ้น เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด โดยเชื่อว่าการมีสังคมที่มากขึ้นคือความสะดวกสบายที่สามารถตอบโจทย์การทำธุรกิจหรือการทำงานแบบไร้พรมแดน สร้างประสบการณ์ได้ด้วยเครื่องมือของตนเองและสืบค้นข้อมูลผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น การพัฒนาศักยภาพของเทคโนโลยีจึงสามารถขยายขอบเขตไปถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งในอนาคต PWC เชื่อว่า Internet of Thing จะเป็นต้นทุนทางความคิดเสมือนแหล่งพลังงานสำคัญที่จะขับเคลื่อนเทคโนโลยีหุ่นยนต์ให้เปลี่ยนสถานะการใช้งานได้ทุกกิจกรรม ตั้งแต่ภาคพื้น โรงแรม ไปจนถึงที่ทำงาน

การลงทุนด้าน Internet of Thing เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของการใช้ชีวิต ซึ่งนอกจากจะถูกใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านอุตสาหกรรมการผลิตเป็นหลัก 
ยังเป็นแนวโน้มสำคัญสำหรับการพัฒนาเมือง โดยเฉพาะเมืองเป้าหมายแห่งการเป็นสมาร์ทซิตี้
ที่มาภาพ iot-analytics.com

โลกที่กว้างขึ้นไม่ได้ทำให้การเชื่อมถึงกันลดน้อยลงแม้แต่น้อย เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตได้แปลงข้อมูล ภาพ และเสียงมาสู่รูปแบบสื่อดิจิทัล พร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลถึงกัน โลกออนไลน์จึงไม่เพียงเปิดประตูสู่ประสบการณ์ความรู้ การพบปะรวมกลุ่มกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดอาชีพและงานบริการตามมามากมาย ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาลและใช้บริการของภาครัฐในรูปแบบ eService ตลอดจนประสบการณ์และกิจกรรมบนพื้นที่ออนไลน์ยังถูกส่งต่อไปยังโลกออฟไลน์อย่างไร้รอยต่อได้เช่นกัน ซึ่ง eService หรือ Electronics Service นั่นคือบริการที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านธุรกิจในด้านต่างๆ ซึ่งช่วยให้ความสะดวกรวดเร็ว และนอกจากนี้แล้วประโยชน์อันสำคัญในการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมาใช้ก็คือ ประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การออกแบบเว็บไซต์ การผลิตคอนเทนต์ในเว็บไซต์ การใช้เว็บไซต์เพื่อเป็นประตูของการให้บริการข้อมูลและประมวลผล รวมไปถึงฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์อย่างการให้บริการสมัครใช้บริการต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตของค่ายโทรศัพท์แทนการต้องเดินทางไปสมัครเอง บริการสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าผ่านอินเตอร์เน็ตแทนการต้องเดินทางไปซื้อเอง เป็นต้น

eService จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากร และระบบสาธารณูปโภคร่วมกันกับประชากรภายในพื้นที่ หากเมืองมีเทคโนโลยีสนับสนุนการใช้ชีวิตที่ดี อย่างในบาร์เซโลนาที่เริ่มให้ความสำคัญในการพัฒนาเมืองเป็นสมาร์ทซิตี้อย่างจริงจังในช่วงปี 2013 โดยวางเป้าหมายจะทำให้เมืองบาร์เซโลนากลายเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ที่แท้จริงแห่งแรกของประเทศสเปน สภาเทศบาลนครบาร์เซโลนา (Barcelona City Council) ได้ให้คำนิยามสมาร์ทซิตี้ไว้ว่า “เมืองพึ่งพาตนเองได้ผ่านศักยภาพภายในชุมชนที่เชื่อมโยงกันโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในเมือง โดยสร้างเทคโนโลยีที่สนับสนุนเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชน” และให้ความสำคัญ 5 องค์ประกอบหลัก อันได้แก่ เทคโนโลยี การสร้างและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ ชุมชนและผู้คน และสิ่งแวดล้อม (Ajuntament de Barcelona 2018) 

สัญญาไฟจราจรที่มีตัวเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหว อุณหภูมิ และสภาพอากาศ 
สามารถปรับเปลี่ยนความสว่าง เองได้ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในเมืองบาร์เซโลนา
©needpix.com

ปัจจุบันบาร์เซโลนามีโครงการสนับสนุนสมาร์ทซิตี้หลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะฝังอยู่ภายใต้พื้นถนนบริเวณ Parking Spot โดยจะแสดงพื้นที่ว่างที่สามารถจอดรถได้ให้กับผู้ขับรถผ่านแอปพลิเคชัน apparkB ผู้ใช้งานสามารถชำระค่าที่จอดผ่านแอปพลิเคชันได้โดยตรง การบริการนี้ช่วยลดปัญหาการจราจรและลดการปล่อยมลพิษจากรถยนต์ เนื่องจากผู้ขับขี่สามารถทราบและควบคุมรถไปที่จุดจอดรถได้ทันที ไม่จำเป็นต้องวนหรือชะลอเพื่อหาที่จอดรถ บาร์เซโลนายังมีระบบไฟจราจรอัจฉริยะที่มีตัวเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหว อุณหภูมิ และสภาพอากาศ สามารถปรับเปลี่ยนความสว่างเองได้ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม และปรับความสว่างอัตโนมัติ เมื่อมีประชาชนเดินผ่านยามค่ำคืน ช่วยลดและป้องกันปัญหาการเกิดอาชญากรรมในช่วงกลางคืน ระบบไฟจราจรอัจฉริยะของบาร์เซโลนาสามารถเปลี่ยนเป็นไฟเขียวทันทีเมื่อตรวจพบรถพยาบาลและรถฉุกเฉินวิ่งเข้าใกล้ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยกู้ชีพภายในเมืองเพิ่มอัตรา การรอดชีวิตให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายภายในเมือง ถังขยะภายในเมืองบาร์เซโลนาเป็นถังขยะอัจฉริยะที่ดูดขยะที่คนนำไปทิ้งลงไป Storage Tank ใต้ดิน นับเป็นการลดมลพิษด้านกลิ่นขยะภายในเมือง นอกจากนั้น ทุก Storage Tank ยังติดตั้งระบบวัดปริมาณขยะที่แสดงผลออนไลน์ ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการเก็บขยะสามารถวางแผนการเก็บขยะได้แม่นยำและทราบถึงความถี่ในการเก็บขยะแต่ละจุดภายในเมือง สนับสนุนการเดินทางให้ประชาชนภายในเมืองและลดปัญหาการจราจร สำหรับระบบขนส่งสาธารณะบาร์เซโลนามี Digital Bus Stop ที่อัพเดตบอกเวลาที่รถบัสแบบเรียลไทม์ มี Charge Dock สำหรับโทรศัพท์มือถือ บริการฟรี Wi-fi และข้อมูลแนะนำแอปพลิเคชันสำหรับนักเดินทาง

©apparkB

ขณะที่สิงคโปร์ใช้งานระบบ ITS หรือระบบการขนส่งและการจราจรอัจฉริยะ มาสนับสนุนความคล่องตัวของการจราจรภายในเมืองและสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน จุดเด่นของระบบ ITS ที่ใช้งานในประเทศสิงคโปร์คือการมุ่งเน้นการจัดการจราจรเต็มรูปแบบ ระบบ ITS สามารถทำงานร่วมกับนวัตกรรมด้านการขนส่งได้เป็นอย่างดี เช่น ระบบขนส่งสาธารณะฟรีช่วงเวลาก่อนชั่วโมงเร่งด่วนในตอนเช้า นโยบายการจำกัดจำนวนรถในสิงคโปร์ (Vehicle quota system) ระบบขนส่งสาธารณะ และระบบการเก็บเงินโซนรถหนาแน่น (Congestion charge zone) ผู้ขับขี่ยานพาหนะและรถสาธารณะในสิงคโปร์สามารถทราบและดูภาพการจราจร 5 นาทีก่อนเวลาปัจจุบันได้ผ่านแอปพลิเคชัน ผ่านการเก็บข้อมูลจากกล้องวงจรปิดบนท้องถนน นอกจากนั้นระบบ ITS ยังแสดงข้อมูลการซ่อมบำรุงถนน แนะนำเส้นทาง สถานที่ซ่อมบำรุงรถ และแสดงตำแหน่งสถานที่จอดรถ นอกจากการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ภายในเมืองแล้ว รัฐบาลสิงคโปร์ยังสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากชุดข้อมูลที่รัฐบาลมี ผ่านการใช้งานเว็บไซต์ Data.gov.sg ซึ่งเป็นเว็บไซต์ให้บริการชุดข้อมูลแบบ One-stop portal ที่รวบรวมสถิติและข้อมูลจากหน่วยงานรัฐกว่า 70 หน่วยงานมาไว้ที่เดียว และยังมีระบบเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน SingPass (ระบบบัญชีกลางบริการภาครัฐสิงคโปร์) ที่รวบรวมการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานแบบ One-stop e-service

ในปี 2045 จะมีมหานครเกิดขึ้นราวๆ 280 เมือง หลายเมืองต่างๆ เหล่านี้อาจจะสามารถรวมตัวกันเพื่อขยายขอบเขตการจัดการและในบางกรณีในระดับชาติ เขตแดนต่างๆ ที่มีนั้นอาจจะขับเคลื่อน  การบูรณาการและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของความเป็นรัฐในทุกมิติ ดังนั้นการจัดการเมืองที่สมดุลระหว่างโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมายกฎระเบียบ (Soft infrastructure) และโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (Hard infrastructure) ไปพร้อมกัน ไม่ว่าผู้คนจะถูกขับเคลื่อนด้วยฝั่งไหนมากกว่าก็ตาม ตัวอย่างเช่น จากบ้านถึงที่ทำงานจำเป็นต้องมีการลงทุนด้านการคมนาคม แต่ถ้าหากผู้คนทำงานจากที่บ้าน สิ่งที่ต้องการก็คือเครือข่ายเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ แนวคิดเรื่องสมาร์ทซิตี้จึงกลายเป็นแนวโน้มสำคัญที่จะเชื่อมต่อผู้คนและการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพกาย สุขภาพจิต ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย ทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน ด้านเศรษฐกิจ มีกำลังที่สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเกิดธุรกิจใหม่จากแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ผู้บริหารเมืองไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของเมืองและลงลึกถึงการให้บริการประชาชนมากยิ่งขึ้น

ที่มาภาพเปิด : seat.com

ที่มา :
บทความ “The Future of Urban Mobility 2.0” จาก uitp.org
บทความ “How autonomous vehicles are driving change for smarter cities” เข้าถึงจาก information-age.com
บทความ “Special Report: Smart Cities” จาก urenio.org
บทความ “Smart City Smart Citizen Smart Tourism” จาก tatreviewmagazine.com