กระเบื้องเคลือบสาหร่ายที่สามารถแยกสารพิษออกจากน้ำได้
Technology & Innovation

กระเบื้องเคลือบสาหร่ายที่สามารถแยกสารพิษออกจากน้ำได้

  • 14 Apr 2022
  • 755

ปี 2025 องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ (UN Water) คาดว่าผู้คนอาจขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง ! น้ำจืดที่มีอยู่ราว 3 % ของน้ำในโลกนั้น แบ่งเป็นน้ำดื่มและใช้ทำการเกษตรกรรมตลอดจนอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดน้ำเสียและการปนเปื้อนต่างๆ ดังนั้นการรีไซเคิลน้ำให้กลับมาใช้งานได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ


กระเบื้องเคลือบสาหร่าย ผลิตโดย Bio-Integrated Design Lab ที่ Bartlett School of Architecture ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นักออกแบบและนักวิศวกรทางเคมีได้คิดค้นระบบผนังปฏิกรณ์ชีวภาพที่ใช้กระเบื้องทำความสะอาดน้ำ โดยออกแบบเป็นผนังเพื่อรองรับน้ำจากถังบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ตัวกระเบื้องผลิตจากดินเหนียวโดยช่างฝีมือชาวอินเดีย ออกแบบและเคลือบโดยการผสมสาหร่ายหลายชนิด แบคทีเรียและเชื้อราลงในไฮโดรเจล ได้จุลินทรีย์ของสารประกอบที่เรียกว่า ‘ไฟโตเคลาติน’ ซึ่งจะช่วยดักจับมลพิษมาเป็นสารอาหารให้สาหร่าย จึงเป็นการกำจัดสารพิษที่เป็นอันตราย อย่าง แคดเมียม ตะกั่วและสารหนูได้เป็นอย่างดี หลังจากใช้งานสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด หรือใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ โดยการเติมสารไฮโดรเจลและสาหร่ายลงไปใหม่


ที่มาเนื้อหา: บทความ “ARCHITECT DESIGNS ALGAE-INFUSED WALL TILES THAT EAT TOXINS AND PURIFY POLLUTED WATER” จาก www.brightvibes.com, บทความ “Bio-ID Lab designs DIY algae-infused tiles that can extract toxic dyes from water”จาก www.dezeen.com และบทความ “น้ำจืดกำลังจะหมดไป เราจะแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำได้อย่างไร” จาก www.bbc.com

ที่มารูปภาพ: www.dezeen.com, www.yankodesign.com

ผู้เขียน : ศิครินทร์  มิลินทสูต