เปิดที่มา “อิโมจิ” สัญลักษณ์เล็กจิ๋วที่ส่งต่อความหมายมหาศาล
Technology & Innovation

เปิดที่มา “อิโมจิ” สัญลักษณ์เล็กจิ๋วที่ส่งต่อความหมายมหาศาล

  • 13 Sep 2023
  • 572

เคยรู้สึกไหมว่าการพิมพ์โต้ตอบด้วยอักษรเฉย ๆ ในโลกยุคนี้ กลายเป็นทำให้ประโยคดูห้วนและจริงจังขึ้นมาหลายเท่า จนบ่อยครั้งก็อดที่จะเติม “อิโมจิ” ลงท้ายประโยคไม่ได้ สัญลักษณ์ภาพเล็ก ๆ ที่ช่วยสื่อสารอารมณ์ของผู้พูด กลายเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบหลักในบทสนทนายุคดิจิทัล ราวกับเป็นจุดมหัพภาคที่ช่วยปิดประโยค และแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันแทบทุกแพลตฟอร์มจนยากที่จะหลีกเลี่ยง

“อิโมจิ” (Emoji) คือ ภาพดิจิทัลขนาดเล็กที่ใช้เพื่อแสดงความคิดหรืออารมณ์บนโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ต หรือการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นการผสมคำระหว่างคำว่า “e” (ภาพ) และ “moji” (อักขระ) ตามภาษาญี่ปุ่นบ้านเกิดของมัน และมี ชิเกะทากะ คุริตะ (Shigetaka Kurita) พนักงานของบริษัทมือถือชั้นนำของญี่ปุ่นอย่าง NTT DoCoMo เป็นผู้นำทีมริเริ่มความคิดนี้ในปี 1999 จนได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งอิโมจิ”

ย้อนกลับไปในช่วงปีดังกล่าว คนในสังคมญี่ปุ่นกำลังเพลิดเพลินกับการแลกเปลี่ยนข้อความรูปภาพ ทำให้บริษัทมือถือของญี่ปุ่นที่เห็นเทรนด์ดังกล่าวเริ่มหาแนวทางที่จะตอบสนองความต้องการนี้ต่อผู้ใช้มากขึ้น กอปรกับตัวบริษัท NTT DoCoMo ก็กำลังพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า “i-mode” ซึ่งนับเป็นสิ่งที่เข้ามาปฏิวัติวงการ เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้ครอบคลุมทั้งบริการอีเมล ข่าวสาร พยากรณ์อากาศ และความบันเทิงเข้าไว้ด้วยกัน และในฐานะที่คุริตะเองเป็นหนึ่งในทีมพัฒนานี้ เขาจึงร่วมพัฒนาวิธีการสื่อสารของผู้ใช้ให้ดีขึ้น และพบปัญหาสำคัญว่า การสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัลนั้น ได้ละทิ้งการสื่อสารด้านอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ไป

คุริตะได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวหลาย ๆ อย่าง ได้แก่ ตัวอักษรภาพ (pictogram) สัญลักษณ์หัวใจที่ใช้ในเพจเจอร์ สัญลักษณ์ประกอบการพยากรณ์อากาศในรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่น รวมไปถึงภาษาสัญลักษณ์ในมังงะ เช่น ดวงตาที่เบิกกว้างแสดงถึงความประหลาดใจ สิ่งเหล่านี้ยังรวมเข้ากับข้อจำกัดของการสื่อสารด้วยอีเมลที่ขณะนั้นจำกัดความยาวไว้เพียง 250 ตัวอักษร “ดังนั้น ผมเลยเริ่มคิดว่าการมีรูปภาพที่สามารถแสดงอารมณ์จะมีความสำคัญกับ i-mode เหมือนกัน” เขากล่าว และหลังจากที่ความพยายามในการเสนอไอเดียอิโมจิกับบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เช่น Panasonic และ Sharp ไม่เป็นผล คุริตะกับทีมจึงเริ่มออกแบบอิโมจิกันเอง จนได้มาเป็นอิโมจิเซ็ตแรกขนาด 12x12 พิกเซล จำนวน 176 ตัว

แต่ถ้าหากจะหาใครสักคนที่ทำให้อิโมจิกลายเป็นปรากฏการณ์เขย่าวงการการสื่อสารระดับโลกแล้วล่ะก็ “Apple” คงเป็นผู้ที่ได้รับเครดิตนั้น ด้วยแนวคิดเริ่มแรกเพียงต้องการเจาะตลาดในญี่ปุ่น ผ่านการใส่แป้นอิโมจิไว้ในระบบปฏิบัติการ และซ่อนมันไว้ไม่ให้ผู้ใช้ในภูมิภาคอื่น ๆ ได้รู้ถึงการมีอยู่ของมัน กระนั้นชาวเทคแห่งโลกฝั่งตะวันตกก็ยังค้นพบวิธีการง่าย ๆ ที่จะสามารถปลดล็อกแป้นพิมพ์นั้นมาใช้ ทำให้เกิดเป็นกระแสการโหลดใช้กันทั่วโลก ซึ่งทำให้ Apple รู้ว่ามีคนอีกมหาศาลที่ต้องการใช้แป้นพิมพ์นี้เช่นกัน ในปี 2011 Apple จึงได้สนับสนุนแป้นพิมพ์อิโมจิอย่างเป็นทางการ พร้อมกับการปล่อยระบบปฏิบัติการ iOS 5  ส่งผลให้ต่อมาระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น Android และ Google  ก็ก้าวเข้าสู่วงการอิโมจิมาตาม ๆ กัน โดยมี Unicode Consortium เข้ามาดูแลเรื่องระบบการเข้ารหัสให้มีความสอดคล้องกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถส่งอิโมจิน่ารัก ๆ ข้ามแพลตฟอร์มและระบบปฏิบัติการที่ต่างกันได้อย่างไร้ปัญหา

นับตั้งแต่นั้น อิโมจิก็ได้รับการพัฒนาให้มีความครอบคลุมและหลากหลายมากขึ้น จนในปัจจุบันมีมากกว่า 3,600 ตัว โดยการเพิ่มตัวอิโมจิที่อัปเดตอยู่ทุกปีอยู่ในความรับผิดชอบของ Unicode Consortium แต่ไอเดียต่าง ๆ นั้นล้วนมาจากผู้ใช้ทั่วไป ทุกคนจากทั่วโลกมีสิทธิ์ที่จะเสนอไอเดียเหล่านั้นแก่คณะกรรมการ และถ้าหากได้รับเลือกก็จะใช้เวลาประมาณสองปีในการพัฒนาให้สมบูรณ์พร้อมเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม การพิจารณานั้นก็มีหลักเกณฑ์ที่ต้องเป็นไปตามที่กำหนด เช่น ความแตกต่าง ความหลากหลายทางความหมาย รวมถึงความเหมาะสมในการใช้ร่วมกับอิโมจิที่มีอยู่ เป็นต้น 

ปัจจุบันนี้ ผู้คนบนโลกออนไลน์ใช้อิโมจิในการสื่อสารกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ อิโมจิโดยรวมกว่าหมื่นล้านตัวถูกส่งต่อให้กับผู้คนรายวัน หรืออาจเทียบได้ว่าในทุกนาทีจะมีอิโมจิที่ถูกแบ่งปันให้คู่สนทนากว่า 7 ล้านตัว ทั้งในแบบความหมายเดี่ยว ๆ หรือผสมผสานเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ ๆ การใช้อิโมจินี้ยังไม่หยุดอยู่แค่ในวงสังคมออนไลน์หรือหมู่ญาติมิตร แต่ยังมีการนำมันไปใช้กับสิ่งที่เป็นทางการมากขึ้น เช่น แวดวงการทำงาน เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว เจ้าสัญลักษณ์ตัวเล็กยังมีวันของตัวเองคือ “วันอิโมจิโลก” ในทุกวันที่ 17 กรกฎาคม พร้อมด้วยรางวัล “World Emoji Awards” จากเว็บไซต์ “Emojipedia” เพื่อเฉลิมฉลองให้กับอิโมจิที่เป็นที่สุดแห่งปีในปีนั้น ๆ โดยผู้ที่คว้ารางวัล “Lifetime Achievement” ประจำปี 2023 ได้แก่ อิโมจิ “Rolling on the Floor Laughing” (